บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2013

10 ข้อคิดการจัดการการเงินในปี 56 ของคุณวรวรรณ ธาราภูมิ

รูปภาพ
ใครทำแล้วยกมือขึ้น 10 ข้อคิดจัดการเงินปี 56 -------------------------- ---------------------- วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง วันนี้ ASTVผู้จัดการออนไลน์ นำเรื่อง "10 ข้อคิดจัดการเงินปี 56" ที่พี่ตู่เคยเขียนไว้ปลายปี 2555 หรือต้นปี 2556 มาลงใหม่ โดยเขาช่วยทำรูปประกอบไว้ให ้ดูง่ายๆ พร้อมจั่วหัวเรื่องเป็น "ใครทำแล้วยกมือขึ้น 10 ข้อคิดจัดการเงินปี 56" รูปประกอบของเขาทำดี ก็เลยเอามาให้ดูกันค่ะ -------------------------- -------------------------- ----------------------- ผ่านมาแล้วครึ่งทางสำหรับปี 2556 ซึ่งเมื่อต้นปีเราเคยนำ 10 ข้อคิดในการจัดการเงินปี 2556 ผ่านคอลัมน์บัวหลวง Money Tips มาบอกแก่ผู้อ่านเพื่อเพิ่มป ระสิทธิภาพในการบริหารด้านก ารเงินแล้วครั้งหนึ่ง แต่ถ้าใครยังไม่ได้ทำหรือยั งไม่สามารถปฏิบัติตามได้ครบ ทุกข้อ วันนี้เราจึงนำขั้นตอนดังกล ่าวมาเสนอเพื่อทบทวนให้ผู้อ ่านได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับกราฟิกอธิบายเพื่อใ ห้ง่ายต่อการสร้างความเข้าใ จ 1. จัดทำแผนรายได้ ค่าใช้จ่าย ประจำปี 2556 ----------------------

เริ่มต้นเรียนกันใหม่ ใช้ชีวิตไปต่อ

เริ่มต้นเรียนกันใหม่ ใช้ชีวิตไปต่อ ---------------------------------- วศิน วัฒนวรกิจกุล กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจกองทุนรวม บลจ.บัวหลวง “การเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด เพราะเมื่อชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงจาก การทำงานเต็มเวลา เป็น การมีอิสระทำตามสิ่งที่ตนปรารถนาในเวลาที่ไม่จำกัด การเดินทางครั้งใหม่ของชีวิตจึงเริ่มต้นขึ้น” เมื่อชีวิตเดินทางมาถึงการเกษียณ ผู้คนอาจมีความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัวว่า “จบแล้ว แค่เท่านี้แหละ” แต่ผมเชื่อว่า การเกษียณเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดโอกาสให้เราได้ทำในสิ่งที่ตนเองสนใจได้เต็ม ที่และมีความสุข ต่างหาก ลองถามตนเองก่อนครับ เพื่อที่จะได้รู้ว่าแท้จริงแล้วเราสนใจอะไร และควรเดินต่อไปในทิศทางไหน เราสนใจอะไรอย่างแท้จริง สนใจจนทำให้เราอยากเรียนรู้ต่อ ? 1. มีสิ่งใดที่เราทำได้ดีที่สุด ? 2. สิ่งใดที่เราไม่ถนัด ? 3. สิ่งใดที่เราสนใจ แต่คิดว่าเราอาจทำได้ไม่ดีนัก ? หลังจากรู้ว่าตนเองสนใจในสิ่งใดแล้ว คำถามต่อมาก็คือ เราอยากศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องอะไร และเรื่อง นั้นสามารถไปเรียนรู้ได้จากที่ไหน ชีวิตเต็มไปด้วยการเรียนรู้ -------------------------- ณ วันนี้ ขณ

วิกฤตต้มยำกุ้ง ภาค 4

ต้มยำกุ้ง" .......Episode 4 7 กรกฎาคม 2556 ในที่สุดหนังของเราก็ยืดยาวกว่า ละครคุณชายจุฑาเทพที่จะอวสานในค ืนนี้ เมื่อวานผมได้สรุปกระบวนการแก้ไ ขระ บบสถาบันการเงิน ที่ทำให้ระบบหยุดไหล หยุดล่ม ไม่ต้องยึดเข้ามาเป็นของรัฐหมด ถึงแม้จะยังไม่กลับมาขยายตัว เพื่อรองรับศก. แต่ใช้เวลา ปรับตัวต่ออีกระยะหนึ่ง ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา ลองเปรียบเทียบ บ้านเพิ่งโดนนำ้ท่วมใหญ่ วินาศสันตะโร พอนำ้ลดก็จะต้องเก็บก วาด แยกของเน่าของเสีย จัดแจงซ่อมแซมระบบ ไฟฟ้าประปา จัดสร้างเขื่อนกั้นนำ้(เช่น ระบบบริหารความเสี่ยง) ฯลฯ ก่อนที่พร้อมจะเข้าไปหาซื้อทรัพ ย์ใหม่เข้าบ้าน ขยายตัวได้อีก ก็โน่นแหละครับ ปี 2544 โดยธนาคารกรุงไทยเป็นหัวหอกบุกต ะลุย ทำให้เกิดสภาพแข่งขันขึ้นใหม่ วันนี้จะเล่าถึงกระบวนการด้าน องค์กรเพื่อการปฏิรูประบบสถาบัน การเงิน(ปรส.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการกั บ บริษัชทเงินทุน ที่ถูกระงับกิจการ ในวันที่ 5 สค.40 รวม 58 แห่ง ซึ่งหลังจากทำหน้าที่พิจารณาแผน ที่ ทุกคนเสนอเข้ามา แล้วให้ผ่านแค่ 2 แห่ง (เกียรตินาคิน กับ BIC) ปิดถาวร 56 แห่งเมื่อ 8 ธค. 40แล้ว เลยต้องทำหน้าที่จัดการก

ต้มยำกุ้ง ภาค 3" ..... หนังที่จา พนม ไม่ได้ร่วมแสดง ลงโรงเมื่อ...6 กค. 2556

ต้มยำกุ้ง ภาค 3" ..... หนังที่จา พนม ไม่ได้ร่วมแสดง ลงโรงเมื่อ...6 กค. 2556 เมื่อวานซืนฉายตอนสอง คนมาshare มา like เหลือ600 จากตอนแรก 1400 แต่คิดดูยังน่าคุ้มทุน เลยตัดสินใจถ่ายทำภาค 3 (ถ้าลดตำ่กว่า500 ก็คงต้องลาโรง เดี๋ยวเจ๊งเหมือนหนังท่านมุ้ย) ตอนนี้น่าจะวิชาการหน่อยนะครับ เพราะจะว่าถึงกระบวนการแก้ปัญหา ของเหล่าพระเอกทั้งหลายที่มาร่ว มชุมนุมกัน ใช้เวลาร่วม 2 ปีกว่าจะตั้งหลักเดินได้อีก ผมและดร.ศุภวุฒิ ค่อนข้างโชคดีที่มีโอกาสรับรู้ค ่อนข้างใกล้ชิดในระดับ ริงไซด์ (ไม่ได้เพื่อเอาอินไซด์ไปหาประโ ยชน์อะไรนะ...ดักคอพวกจิตอกุศลไ ว้ก่อน) เพราะเราทำวิเคราะห์ วิจัยไว้เยอะ ตั้งแต่ก่อนวิกฤต มีข้อมูลที่ทางการไม่มีอยู่เยอะ แค่ปลายปี96 เราก็ค่อนข้างฟันธงว่าประเทศไทย น่าจะกำลังเดินหน้าเข้าสู่วิกฤต ิการเงิน ถึงจะมีความหวังบ้างว่าอาจจะมี soft landing (คำเพราะที่ไม่เคยเห็นมีใครทำได ้สำเร็จ....รอ ดูจีนละกัน) แต่ก็ดูริบหรี่ เพราะการกัดลูกปืน(bite the bullets)ก่อนเกิดฉิบหาย ไม่เป็นที่นิยมของชาวประชา ไม่เคยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งไหนทำได้(จีนถึงมีหวังไง) ฝ่ายวิจัยของภั

มหากาพย์ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ตอน 2 ... (เล่าเมื่อ 4 กค. 2556)

มหากาพย์ "วิกฤติต้มยำกุ้ง" ตอน 2 ... (เล่าเมื่อ 4 กค. 2556) เมื่อวานซืนบทความ "16 ปีแห่งความหลัง" มีคนกดไลค์ กดแชร์ เกินพันเป็นครั้งแรกของบทความผม เป็นกำลังใจให้เล่าตอนต่อ เพื่อไม่ให้นานเกินรอ กระบวนการแก้ไขและผลภายหลังของว ิกฤติ ส่วนใหญ่เป็นที่รับรู้และมีการว ิเคราะห์ วิจัย หาอ่านได้เยอะแยะทั่วไป ที่จะเล่า จะเป็นส่วนที่ผมเกี่ยวข้อง ได้รู้ได้เห็น (บางเรื่องเป็น inside) คนอื่นไม่ค่อยได้เน้น และเป็นใ นมุมมองของผมเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะพาดพิงถึงใครโดยไม่เหมาะสม บ้างก็ขอกราบขออภัย และท้วงติงด่าทอกลับมาได้ (อย่าถึงกับฟ้องร้องเลย) ตอนที่แล้วเล่าถึงสาเหตุ ความผิดพลาดที่คนครึ่งโลก รวมทั้งคนไทยครึ่งประเทศมีส่วนร ่วม ทำให้เกิดวิกฤต จนถึง 2 กค.40 และผมยกให้ Exchange Rate Policy เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด ทั้งๆที่เป็นนโยบายที่มีจุดประส งค์ที่ดี ทำให้เกิดผลดีในระยะหนึ่ง แต่นานไปก็ก่อให้เกิดการบิดเบือ นในภาคส่วนต่างๆ มีหลายท่านพยายามอธิบายว่า เป็นแผนการล่าอาณานิคมทางเศรษฐก ิจ ที่ไอ้พวกต่างชาติทั้งโลกมันร่ว มกัน วางแผน เอาเงินมาหลอกให้เรากู้ เอาเข้ามาแกล้งซื้อหุ้น แล้วขยิบต

2 กรกฎาคม 2556... 16 ปีแห่งความหลังงงงงง

2 กรกฎาคม 2556... 16 ปีแห่งความหลังงงงงง โดย คุณ Banyong Pongpanich วันนี้ตื่นแต่เช้าตรู่ สิ่งแรกที่นึกถึง ก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวัน นี้ของ16 ปีที่แล้ว..เป็นอันว่าได้เล่าเร ื่องเก่าอีกวัน(สงสัยจะแก่จริง) 2 กค. 2540 ผมถูกโทรศัพท์ปลุกตั้งแต่ตีห้าค รึ่ง โดยอาจารย์เปี๋ยม(ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ)โทรมาบอกว่า แบงค์ชาติปลุกCEO ธนาคารทุกคนให้ไปประชุมตอน 7 โมงเช้า น่าจะมีการลดค่าเงิน ปรากฎว่าอ.เปี๋ยมคาดผิดไปนิดหนึ ่ง เขาไม่ได้ลดค่าเงิ น แต่เขาลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งมันก็ลอยลง ลอยลง อย่างรวดเร็ว จาก 25 บาทต่อUS$ เป็น 40เป็น 50 ไปโน่นเลย นั่นเป็นฉากเริ่มต้นของหนังยาวท ี่ชาว ไทยจำได้ดี เพราะเป็นหนังที่รวบรวมทั้ง drama, thriller, adventure, โศกเศร้ารันทด, สยองขวัญ ครบทุกรสชาด(ยกเว้น comedy เพราะขำไม่ออกเลยจริงๆ) 16 ปีผ่านไป เรามาย้อนดูอีกทีว่าเกิดอะไรขึ้ น...ใครกันวะ(ที่ไม่ใช่กู) ทำให้มันชิบหาย หลายคนโทษพ่อมดการเงิน คุณพี่Soros และชาวคณะ hedgefund ที่ทะยอยโจมตีค่าเงินบาทหลายระล อก... หลายคนโทษธปท.ที่ต่อสู้ยิบตาจนห มดหน้าตัก... บางคนไพล่ไปโทษจีน ที่บิ๊กจิ๋วส่งคนไปขอยืมแค่หมื่