บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2016

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน ภาค 2

ต่อนะครับ 6. เราสามารถสร้างกฎเกณฑ์ของตัวเองได้ คนอื่นอาจจะว่าบ้า ถ้าเกิดเราจะเลิกทำงานประจำที่มั่นคง ชีวิตในคอนโดแสนสุขสบาย รายได้ที่โอเคเพื่อไปทำสิ่งที่เรียกว่า “ ไม่มั่นคง ” ในสายตาคนอื่น อย่างพนักงานฟรีแลนซ์ หรือ ครูสอนเปียโน? พูดกันตามตรงมันก็ดูบ้าเหมือนกันนะ แม้จะมีคนหลายคนเลือกทำแบบนี้ แต่เหมือนสังคมเราจะให้ค่า “ ความมั่นคง ” มากกว่า “ความสุขในชีวิต” ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือกเอง เราทุกคนสร้างกฎเกณฑ์ของชีวิตเราได้เสมอ  ถ้ามันไม่เดือดร้อนคนอื่น คุณไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเหมือนใคร และใครๆก็ไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตแบบคุณด้วย คนเราทุกคนมีสิทธ์เลือกทางเดินของตนเอง 7. เมื่อไม่มีใครออกคำสั่งเรา เราก็ต้องทำเอง ตอนที่คนเราทำงานประจำ เรามักจะมีผู้บังคับบัญชา ซึ่งหลายครั้งเราก็แค่ทำตามที่เขามอบหมายงานมาเท่านั้น ไม่มากไปกว่านี้ และนั่นทำให้เราเคยชินกับกิจวัตรแบบเดิมๆ ที่ไม่ต้องบังคับตัวเองเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวงานก็บีบบังคับเราเอง ต่อให้เราไม่อยากทำหรือขี้เกียจแค่ไหน แต่ความกลัวที่มีต่อเจ้านายก็จะทำให้ลุกขึ้นมาทำงานเอง แต่เมื่อเราออกมาเริ่มต้นชีวิตอิสระ ภายใต้การควบคุมของเรา ไม่มีใครออกคำสั่งเราแล้ว เ

10 บทเรียนที่ได้รับจากการลาออกจากงาน

รูปภาพ
ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ และหลายครั้งที่เราทุกคนเกิดความรู้สึกเคว้งคว้างและหลงทาง เพราะถูกสังคมบีบคั้นด้วยกฎของการใช้ชีวิตที่เราทุกคนไม่ได้กำหนด แต่เราก็ต้องเดินตามกันไปเพียงเพราะสังคมเขาทำแบบไหนเขาคาดหวังอะไรจากเรา เราก็เลยทำแบบนั้น บางครั้งเราก็ทำสำเร็จ แต่หลายๆครั้งก็ไม่เป็นอย่างใจ ท้ายที่สุด สิ่งที่เหลือในใจของเราก็คือความผิดหวังและความรู้สึกว่า “ล้มเหลว” ปัญหาของผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็ไม่พ้นเรื่องงาน เพราะในทุกวันนอกจากการนอนหลับพักผ่อน เราก็ใช้เวลาวันละอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงในการทำงานของเรา ไม่รวมถึงคนที่เป็นเจ้าของกิจการที่อาจทำงานมากกว่านี้จนแทบไม่ได้พักผ่อน สุดท้าย เรามักจะมีคำถามกับตัวเองเสมอว่า  “นี่คืองานที่ใช่สำหรับเราหรือเปล่า?”   “นี่เรากำลังทำอะไรอยู่?”   “เรามีความสามารถมากพอที่จะสร้างรายได้และความสำเร็จมากกว่านี้ไหม?” เชื่อว่าทุกคนที่อยู่ในวัยทำงานต้องมีคำถามนี้ในใจอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะเวลาที่ปัญหารุมเร้าจนเรารู้สึกท้อถอย แต่คนส่วนใหญ่มักติดอยู่ใน Comfort Zone หรือ พื้นที่สบาย เลยไม่กล้าทำอะไรกับมัน แม้เราจะรู้ว่า  สุดท้ายสิ่งที่เรากำลังทำมันก็ไม่ใช่ตัวเราอยู่ดี

เมื่องานที่ทำ กับ ตัวตนที่แท้จริงของตัวเองไม่ตรงกัน

ากหนังสือ How Love the Job You hate. ผู้เขียนพบ Bob ตอนที่เขามาเป็นเพื่อนลูกชายในการสัมมนาเพื่อเตรียมตัวสอบเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ โดยหวังว่าลูกชายจะได้งาที่มั่นคงUละรายได้ดีเหมือนตัวเขา เมื่อหัวข้อการถกเถึยงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบุคลิกภาพ เขาได้เล่าเรื่องส่วนตัวของเขาให้คนในกลุ่มฟัง ในช่วงปี 60 บ๊อบต้องต่อสู้ดิ้นราหาเงินเลี้ยงครอบครัวขนาดใหญ่ เส้นทางชีวิตของเขาเปลี่ยนไปเมื่อทางการเรียกตัวให้ไปทดลองงานในตำแหน่งช่างประปา หลังจากผ่านช่วงทดลองงาน เขาได้รับการบรรจุโดยได้ค่าแรงเ พิ่มเป็นเท่าตัวจากที่เคยได้มาก่อน พร้อมกับสิทธิ์การลาป่วยและพักร้อนอย่างที่เคยอยุ่แต่ในความฝัน เพียงไม่กี่เดือน หลังจากภรรยาคลอดลุกสาวคนสุดท้อง เขาก็สามารถซ์้อบ้านหลังใหญ่สำหรับครอบครัวที่ประกอบด้วยภรรยากับลุก 8 คน บ๊อบยังเป็นนักดนตรีอีกด้วย นี่คือสิ่งที่เขาถวิลหาโดยแท้ เขามีความสุขกับการเล่นดนตรีต่อหน้าคนดูเยอะๆ และการเขียนเพลงร่วมกับเพื่อนที่เล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยมัธยมปลาย การที่ได้รู้ว่าอาชีพช่างประปามีผลทำให้เขาเกิดความเหงาแลเบื่อหน่ายกลายเป็นเรื่องที่หลายคนประหลาดใจ เพาะไม่ว่าจะมองในมุมใ