บทความ

“Test Drive Your Retirement“

ลองก่อนก็ได้ ว่าไหวไหม 27 มกราคม 2557 บัวหลวง Money Tips             ใช่ครับ ในบั้นปลายชีวิต ทุกคนก็อยากอยู่อย่างมีความสุขในวัยเกษียณ ซึ่งความสุขของแต่ละคนก็แตกต่างกันไป แล้วคุณๆ ได้เตรียมการหรือวางแผนบ้างหรือยังครับ          เรื่องนี้ บางคนซึ่งเป็นส่วนน้อยนิดเขาคิดและวางแผนมาตั้งแต่เริ่มต้นทำงานใหม่ๆ แล้ว บางคนก็เพิ่งเริ่มคิดหรือวางแผนตอนใกล้ๆ จะเกษียณ แต่ผมเชื่อว่าน้อยคนที่มีการวางแผนแล้วจะเคยทดลองใช้ชีวิตตามแผนที่วางไว้ เพื่อดูว่าจะเป็นอย่างที่เราคิดบ้างหรือไม่            ที่มาของเรื่อง “ ลองก่อนก็ได้ ว่าไหวไหม “ อันนี้ มาจากบทความเรื่อง “ Test Drive Your Retirement “ ที่ CEO มอบหมายให้ผมอ่านแนวคิดแล้วเขียนขึ้นมาใหม่ ผมอ่านไปแล้วก็คิดว่ามันเหมือนเรามีแผนซื้อรถใหม่ แล้วไปที่ศูนย์ขายรถยนต์เพื่อลองขับ เพื่อให้ได้ยี่ห้อหรือรุ่นที่เราชอบ ที่พอใจที่สุด ตามงบประมาณครับ          ในการเกษียณ เราต้องเริ่มด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเกษียณ เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (ทั้งค่าเช่า ค่าผ่อนบ้าน และค่าซ่อมแซม) ค่าใช้จ่

กลยุทธ์การลงทุนในหุ้น ปี 2557

กลยุทธ์การลงทุนในหุ้น ปี 2557 23 ธันวาคม 2556            ลงทุนในหุ้นสำหรับปี 2557 ทีมจัดการกองทุนบัวหลวง ยังคงใช้มุมมองการลงทุนที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยภาพรวม (Macro theme) กับปัจจัยพื้นฐานหุ้นรายตัว            ในภาพใหญ่นั้น จะมุ่งเน้นไปกับกลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์ไปกับการขยายตัวของเศรษฐกิจใน ภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะประเทศแถมอินโดจีน กัมพูชา ลาว เมียนมาร์และเวียดนาม (CLMV) ซึ่งเรามองว่าในภูมิภาคนี้กำลังอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ สำคัญ ได้แก่            1. การพัฒนาเข้าสู่สังคมเมือง (Urbanization) ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่มรายได้ของประชาชน ซึ่งจะมีผลให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไป            2. การเข้าสู่สมาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขยายการลงทุน การท่องเที่ยวและการเดินทางเพื่อธุรกิจ            เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะดำเนินไปเป็นระยะเวลานาน หลายปี เราจึงเชื่อว่า Theme การลงทุนดังกล่าวนี้น่าจะสามารถใช้ได้ไม่เพียงแต่ในปี 2557 แต่
เคยเตือนน้องคนรู้จักคนนึงเรื่องการซื้อบ้าน กะว่าซื้อบ้านให้พ่อแม่อยู่ หลังนึง 3 ล้านกว่าๆ พ่อแม่เคยอยู่ตึกแถวในตลาด  อารมณ์อยากมีบ้าน มีบริเวณ จะได้มีที่จอดรถ น้องก็พาพ่อแม่ไปดูบ้าน  ก็้ชอบกันหมดทุกคน  น้องเลยจัดการซื้อเลย ผ่อนเดือนนึงก็หลายอยู่ พอเอาเข้าจริง ตอนแรกก็ไปนอนบ้าง แต่งบ้าน จัดสวน ทุกสิ่งอย่าง ผ่านไปเริ่มไม่อยากไป เพราะไกลจากบ้านเดิมมาก ไปนอนได้สัปดาห์ละวัน หนักๆเข้า พ่อแม่เริ่มงอแง ไม่ไปอยู่ ที่นีลูกก็ผ่อนไป ตัวเองก็ไปอยู่สัปดาห์ละวัน อยากบอกว่า  การเปลี่ยนวิถีชีวิตคนแก่เป็นเรื่องยาก  บางคนก็ไม่อยากขัดใจลูก บางคนก็อารมณชัววูบ อยากได้บ้าน น้องก้เสียโอกาสในการเก็บเงิน ต้องเอาไปผ่อนบ้าน  แล้วบ้านก็ไม่ได้ขายกันง่ายๆ เกิดหนี้ที่ไม่จำเป็นเลย เหตุการณ์นี้ก็เคยเกิดขึ้นกับผม  หลายคนคงอยากให้พ่อแม่อยู่สบาย ไปซื้อบ้านในหมู่บ้าน เหมือนเอานกไปขังกรง คนแก่ไม่มีสังคม อยู่อย่างหงอยๆ  สุดท้ายก็เลือกอยู่บ้านเก่าในตลาด บ้านในหมู่บ้านอยู่ไม่ได้  เลยให้เช่า สุดท้ายก็ขายไป  เพราะฉะนั้นซ์้ออะไรคิดให้ดีครับ อย่าทำให้ตัวเองเสียโอกาส

ซื้อประกันเท่าไหร่จึงจะพอดี

ซื้อประกันเท่าไหร่ถึงจะพอดี ไม่มากจนเกินเป็นภาระเกินไป อันนี้เอามาจากรายการวิทยุที่ได้ฟัง เขาบอกว่าให้ ทำรายการทรัพย์สินทั้งหมด เช่น บ้าน ที่ดิน หุ้น พันธบัตร เงินสด ทองคำ รถ   แล้วลบด้วยหนี้สินทั้งหมด เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต จะเหลือทรัพย์สินสุทธิเท่าไหร่ ตัวอย่างเช่น คุณเจมส์จิ อายุ 30 ปี คือกำลังหลักของครอบครัว มีทรัพย์สิน 2 ล้านบาท มีภาระผ่อนบ้าน ยอดหนี้บ้าน 3 ล้านบาท   มีพ่อแม่ไม่รายได้อะไรเพราะเกษียณแล้ว อายุ 65 และ 63 ปี มีภรรยาซึ่งมีรายได้ต่อปี 600,000 บาท มีลูก 1 คน อายุ 3 ขวบ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 50,000 บาท   การทำประกันที่ดีนั้น ต้องไม่ทำมากเกินไป เพราะเป็นภาระผูกพันระยะยาว 5- 15 ปีที่ต้องส่งเบี้ยประกันทุกๆปี แต่ไม่ควรทำน้อยเกินไป เพราะถ้าเกิดอะไรที่ไม่คาดคิดกับรายได้หลัก จะมีคนเดือดร้อนอีกหลายคน เช่น ถ้าคุณเจมส์จิ ตาย บ้านไม่มีประกันก็อาจโดนยึดขายทอดตลาด พ่อแม่ก็ลำบาก จะเอาอะไรกิน เจ็บไข้ได้ป่วย จะเอาเงินที่ไหนไปรักษา ลูกก็ต้องลำบาก กำลังเล็ก ไหนจะต้องเข้าโรงเรียน ก็ต้องใช้เงินเพื่อการศึกษาเล่าเรียนอีก เรามาคิดทุนประกันที่เห

ผ่อนบ้านอย่างไรให้หมดเร็ว

หลายคนที่กำลังมองหาบ้านหลังแรกอยู่อาจจะยังไม่รู้ซึ้งถึงความรู้สึกของการ “ผ่อนบ้าน” เพราะคนที่มีบ้านเป็นของตัวเองนั้นน้อยคนที่จะสามารถซื้อบ้านเป็นเงินสดๆ ได้ ต้องอาศัยการผ่อนชำระเป็นงวดๆ ค่างวดแต่ละงวดก็จะกลายไปเป็น “ดอกเบี้ย” เสียส่วนใหญ่ กว่าจะผ่อนกันหมดก็อาจจะแก่ไปก่อน แต่สำหรับผมแล้วหนี้ก้อนนี้ผมจะถือว่าเป็น “หนี้แห่งความสุข” ครับ เพราะการที่เรามีบ้านเป็นของตัวเองนั้นมันเป็นความสุขที่ไม่อาจบรรยายกันได้ เลย สำหรับระยะเวลาผ่อนส่งบ้านที่ ยาวนาน 20-30 ปี ถ้าหากเริ่มต้นผ่อนที่อายุ 30 ปี บางคนจะผ่อนหมดเมื่ออายุ 60 ปี หรือเกษียณพอดี คนบางกลุ่มถามว่าทำไมไม่เริ่มให้เร็วกว่าอายุ 30 ปี เช่น อายุ 25 ปี หรือน้อยกว่านั้น คำตอบในใจของมนุษย์เงินเดือนที่เคยผ่อนบ้านหลังแรกคงจะตอบด้วยเสียงเบาๆ ว่า… เริ่มเร็วนั้นยากเพราะกว่าที่จะสะสมเงินดาวน์บ้านให้ได้สักหลัง คิดอย่างง่ายๆ ที่ 500,000 บาท ทำงานกี่ปีจึงจะมีเงินเก็บเท่านี้ ที่สำคัญคนที่มีวินัยทางการเงินต่ำ ทำงานใหม่ๆ มีเงินก้อนจากโบนัส หรือได้เงินเดือนเพิ่มนิดๆ หน่อยๆ ก็ผันไปเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น เช่น โทรศัพท์มือถือหรือรถยนต์กันเ

จะหมดปี 56 แล้วทำกันไปได้กี่ข้อแล้วครับ

รูปภาพ
ยังไงก็ทบทวนกันก่อนจะสิ้นปีนะครับ อันดับแรกเลย ทำบัญชีรายรับรายจ่ายกันหรือยัง กันเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน ไว้สัก 3 ถึง 6 เดือนของรายจ่ายทุกเดือนนะครับ เช่น รายจ่ายทุกเดือนอยู่ที่ 20,000 บาท ก็ควรมีเงินออมซัก 60,000 ถึง 120,000 บาทก่อนนะครับ ก่อนที่จะคิดทำอะไรต่อไปครับ หลังจากนั้นก็ทบทวนความคุ้มครองให้กับตัวเองและคนในครอบครัว   คุณมีประกันชีวิตหรือยังครับ ประกันสุขภาพล่ะ  ถ้าคุณเป็นอะไรไปครอบครัวคุณเดือดร้อนหรือไม่   หรือ เกิดเจ็บป่วยมีอะไรมาทดแทนรายได้ที่ขาดหายไปหรือไม่ครับ คิดทำประกันให้คนในครอบครัวด้วยก็ดีครับ การทำประกันหลายท่านอาจคิดว่าเสียเปล่า แต่ผมมองว่าเป็นการใช้เงินเล็กรักษาเงินก้อนใหญ่ บางท่านเงินเก็บมาทั้งชีวิตหมดไปเมื่อไม่สบาย หรือเกิดอุบัติเหตุ การทำประกันเหมือนส่งต่อความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันครับ แล้วจะมาพูดถึงข้ออื่นๆต่อไปนะครับ

บทเรียนสอนใจคนซื้อคอนโดเก่า

จากผู้เช่า เป็นเจ้าของ เท้าความไปเมื่อปี ๔๙ ผมได้จองซื้อคอนโดวันแถวลาดพร้าว หลัง จากที่ได้อาศัยข้อมูลในเวปพันธ์ทิพย์ ห้องชายคา คอนโด เลยตัดสินใจลางานไปจอง การอ่านความเห็นของคนที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นกูรู ก็มีผลต่อการตัดสินใจของเราเหมือนกัน ตอนนั้นประสบการณ์เรายังอ่อนด้อยในเรื่องคอนโดเป็นอย่างมาก บรรยากาศ วันจองก็เต็มไปด้วยผู้คน ที่ซื้ออยู่เองก็มี เก็งกำไรก็เยอะ เราได้มาห้องหนึ่ง กะเอาไว้อยู่เอง คอนโดมี เก้าชั้น เราได้ห้องมุมชั้นแปด จำเนียรกาลผ่านไป เมื่อเดือนเมษายน ๕๑ ทางโครงการแจ้งว่าจำเป็นต้องทำการทุบชั้นเก่าทิ้ง เพราะเกินกว่าความสูงที่กฏหมายกำหนด คือมันจะเกิน ๒๓ เมตร ต้องเว้นระยะข้างมากกว่าเดิม ซึ่งคอนโดคงเว้นไม่ได้เพราะติดบ้านคน เขาถามเราว่าจะเอาไหม เราบอกว่า เราไม่อยากอยู่ชั้นบนสุด ร้อน รั่ว ซึม ขอเงินเราคืนมาเถอะ เขาก็ให้คืน แต่เราต้องไปเซ็นต์สัญญาว่าจะไม่ฟ้องเขา หลังจากนั้นมาเราก็เริ่มหันมามองคอนโดเก่านอกกระแสซักหน่อย ในที่สุดผมก็ได้ซื้อคอนโดเก่า สร้างเมื่อปี ๓๗ แต่ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไร ว่ามันเก่า ที่ซื้อเพราะอยากมีที่อยุ่ ไม่อยากเช่า อยากแต่งห้อง อะไร