บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016

อิสรภาพของคุณราคาเท่าไหร่ โดย คุณ บอย วิสูตร

รูปภาพ
ไม่เคยมีครั้งไหนที่คุณจะวัดอิสรภาพของคุณได้ชัดเจนเท่าครั้งนี้ Wisoot Sangarunlert ได้เงิน 2 หมื่นบาทเท่างานประจำ แต่ไม่รู้ว่าเดือนหน้าจะมีงานให้ทำอีกมั้ย December 1, 2014  ·  ไม่เคยมีครั้งไหนที่คุณจะวัดอิสรภาพของคุณได้ชัดเจนเท่าครั้งนี้ สมมติว่าคุณทำงานประจำ ได้เงินเดือน 2 หมื่นบาท แล้ววันนึงคุณไปรับงานนอก ใช้เวลาตอนหลังเลิกงาน ทำงา นประมาณหนึ่งเดือน คำถามคือ แล้วถ้าเงื่อนไขคือคุณต้องเลือกระหว่าง จะทำงานประจำต่อ หรือ ลาออกไปทำงานไม่ประจำ เพราะทำสองอย่างไม่ไหว เหนื่อยมาก คุณจะเลือกอะไร? ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เลือกทำงานประจำต่อไปแน่นอน เพราะมันให้ "ความมั่นคง" เรารู้แน่ ๆ ว่าสิ้นเดือนจะได้เงินเอามาใช้จ่าย แต่ถ้าผมเปลี่ยนโจทย์ใหม่ สมมติว่าคุณก็ยังเงินเดือน 2 หมื่นบาทเท่าเดิม แต่คราวนี้งานนอก ทำให้คุณได้เงิน 4 หมื่นบาทต่อเดือน แต่ก็ยังไม่รับประกันอีกนั่นแหละว่าเดือนหน้าจะมีงานให้ทำอีกมั้ย ถ้าเป็นแบบนี้คุณจะเลือกอะไร ระหว่างงานประจำกับงานไม่ประจำ? คุณก็ยังอาจจะไม่ลาออกอยูดี เพราะยังอยากได้ความมั่นคง แล้วถ้างานนอกให้รายได้เป็นเดือนละ 8 หมื่นบาทล่ะ

อายุเท่าไหร่จึงสายเกินเปลี่ยนสายอาชีพ

นักเขียนการ์ตูน ชัย ราชวัตร เรียนจบสายบัญชี แต่ชอบการ์ตูนมากกว่า ในที่สุดก็เดินตามหัวใจ กลายเป็นศิลปินสร้างผลงานดี ๆ มากมาย มองรอบตัว ผมเห็นคนที่เลือกหลุดออกจากอาการผิดที่ไม่น้อย บางคนเป็นหมอแล้วหันทิศมาเป็นนักเขียน บางคนจบสถาปัตย์ฯไปเป็นนักแต่งเพลง จบกฎหมายไปทำสวน จบออกแบบเป็นนักดนตรี บางคนทำงานเลขานุการ แล้วมาเรียนเป็นครู บางคนทำงานในองค์กรนาน แล้วหักฉากมาทำการครัว ฯลฯ คนใกล้ตัวผมหลายคนเปลี่ยนทิศเดินชีวิตเมื่ออายุเกินเลข 4 เลข 5 ไปแล้ว บางคนเกษียณแล้ว เพิ่งเริ่มมาเรียนสายใหม่ ไม่มีคำว่าสายเกินไป พอใจเปลี่ยนวันไหนก็วันนั้น ชีวิตไม่จำเป็นต้องจมดักดานกับจุดเดิมที่เดิมหลุมเดิมไปจนตาย เปลี่ยนใจเมื่อไร ก็เปลี่ยนทิศได้เสมอ ไม่ต้องทำงานสายเดิมต่อไปจนถึงวันตายเพียงเพราะเรียนมาสายใดสายหนึ่ง หรือเพราะความเคยชิน เพราะพ่อสั่งหรือแม่ขอ การทู่ซี้ทำสิ่งที่ไม่ชอบ ย่อมได้งานไม่ดี และท้ายที่สุด ก็ส่งงานไม่ดีออกไปในสังคม บางกรณีก็สร้างอันตราย ไม่ชอบเป็นครู แต่ดันทุรังสอนต่อ ก็ไม่มีทางสร้างเด็กที่มีคุณภาพได้ ไม่ชอบเป็นหมอ แต่เรียนหมอเพราะคะแนนสูงมาตลอด ใคร ๆ ก็ยุให้เรียนหมอ ทำงานแบบไม่ชอบอ

ความหมายของการนัดไปศาลครั้งแรก

าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า  ให้จำเลยมาศาล เพื่อการไกล่เกลี่ย ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 และให้จำเลยมาศาล เพื่อการสืบพยานโจทก์ ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558 ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ  วันนัดไกล่เกลี่ย  (นัดที่หนึ่ง) และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ  วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ"  (นัดที่สอง) ส่วนสำหรับวัน นัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา)  จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า  ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน? ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง) เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป

วิกฤติวัย 30+

วิกฤติวัย 30+ 1) A อายุ 32 ปี A ทำงานที่บริษัทอินเตอร์ยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไต่เต้าจากตำแหน่งหนูน้อยจูเนียร์จนตอนนี้ตำแหน่งใหญ่โต "เคยคิดว่าจะอยู่สัก 2-3 ปี แต่ทำไปทำมานี่จะ 8 ปีแล้ว จนคนรุ่นเดียวกับฉันลาออกย้ายงานกันไปหมดแล้ว" A บอก A รักที่ทำงานแห่งนี้และหวังจะเติบโตไปกับบริษัท ที่นี่คงเป็นเรือนตายของ A แต่... "แต่ความจงรักภักดีมีราคาของมัน" A ถอนหายใจเฮือกใหญ่ ก่อนจะบอกว่า "เรื่องตลกของชีวิตมนุษย์เงินเดือนก็คือ บริษัทไม่มีทางจ่ายให้เราได้มากเท่ากับคนที่ย้ายมาจากที่อื่น ต่อให้เราจงรักภักดีไม่คิดลาออกก็เถอะ รอให้บริษัทขึ้นเงินเดือนให้ตามระบบยังไงก็ไม่มีทางขึ้นได้เท่ากับลาออกไปอยู่ที่อื่นหรอก และเผลอๆ ลาออกแล้วกลับมาใหม่ยังได้เงินเดือนเยอะกว่าอยู่ยาวรวดเดียวอีก นี่เห็นตำแหน่งฉันสูงขนาดนี้แต่เงินเดือนต่ำเตี้ยเรี้ยดิน ลูกน้องเก่าฉันทำงานไม่กี่ปีลาออกไปย้ายงานทีเดียวเงินเดือนสูงกว่าฉันอีก!" "นี่ไงล่ะราคาของความจงรักภักดี สุดท้ายฉันก็คือของตายของบริษัท ฉันเพิ่งมาตาสว่างเอาตอนที่ทำงานมาจนจะย้ายไปที่ใหม่ก็ยากแล้ว สามสิบกว่าแล้วนะแก ไม่ใช่เด็กๆ แล